ผลกระทบทางกฎหมาย และ กระแสวิพากษ์วิจารณ์ ของ ประเทศกูมี

หลังจากที่มิวสิกวิดีโอนี้ได้เผยแพร่ออกไป เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เตรียมเชิญกลุ่มแร็ปเปอร์มาให้ปากคำ เนื่องจากอาจมีเจตนาที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายและขัดคำสั่ง คสช.[5] ด้านธีระวัฒน์กล่าวว่ารู้สึกเฉยๆ เพราะผลงานพูดความจริง ทีมงานไม่ได้รู้สึกตกใจอะไรมาก คงห้ามคนที่จะฟังและเชื่อไม่ได้[6]

ต่อมาในวันที่ 29 ตุลาคม พลตำรวจเอกศรีวราห์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ในชั้นต้นยังไม่พบหลักฐานที่จะเอาผิดเจ้าของเพลงได้ แต่ทั้งนี้ได้สั่งการให้กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมและเทคโนโลยี หรือ ปอท. ตรวจสอบเนื้อหา รวมถึงเบื้องหลังการจัดทำเพลงอย่างละเอียด[7] ส่วนกรณีที่มีสื่อหลักบางสำนัก นำเสนอข่าวบิดเบือน รวมถึงนำภาพเก่าซึ่งมีการดัดแปลงให้ผิดไปจากความเป็นจริง ไปโพสต์แชร์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ว่าตำรวจมีการคุมตัวผู้ต้องหา ทำให้เกิดความเข้าผิด และทำให้ตนเองได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น ได้มอบหมายให้ทนายความร้องทุกข์กับตำรวจ ปอท. เพื่อดำเนินคดีต่อไปแล้ว[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศกูมี https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E... https://prachatai.com/journal/2018/10/79297 https://www.sanook.com/news/7558034/ https://open.spotify.com/album/1FpxrBMvgEHkto86ZZk... https://www.youtube.com/watch?v=VZvzvLiGUtw https://www.prachachat.net/social-media-viral/news... https://www.khaosod.co.th/politics/news_1738017 https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_174... https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_175...